ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ ชุมชนแห่งความรู้ด้านจีนศึกษา


ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ชุมชนวิชาการจีนศึกษา

ชุดโครงการวิจัยจีนศึกษานี้ นอกจากจะมุ่งสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อให้ทันกับความจำเป็น และความต้องการของประเทศ ทั้งในแวดวงวิชาการชั้นสูงแล้ว ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการบูรณาการความรู้ เพื่อวางแผนการพัฒนาประเทศ "ชุดโครงการวิจัยจีนศึกษา" จึงเป็นการมุ่งเปิดมุมมองการศึกษา เกี่ยวกับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในชนบทจีน ความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม กระบวนการ นคราภิวัตร คู่ความสัมพันธ์และขัดแย้งระหว่างเมืองและชนบทของจีน ปัญหาทางเศรษฐกิจ และ การปรับตัวของทั้งเมือง ต่อชนบท และทั้งของชนบทต่อเมือง อันเป็นผลพวงจาก นโยบายปฏิรูปเปิดกว้างของรัฐบาลจีนในช่วงเกือบ30ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบททางสังคมและการเมือง ซึ่งยังได้รับความสนใจศึกษาทางวิชาการไม่มากนัก ตลอดจนศึกษาผลกระทบจากการดำเนินนโยบายต่อภาคการเกษตรและการพัฒนาชนบทของจีนที่เกิดขึ้น การลงทุนภาคเกษตรของจีนในประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมเลี่ยงไม่พ้นที่จะส่งผลต่อภาคการเกษตรและชนบทในภูมิภาคใกล้เคียง ในหลายกรณี การขยายตัวของสินค้าเกษตรส่งออกของจีน นโยบายแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำภาคเกษตร ในจีน ได้ส่งผลโดยตรงแล้วต่อเกษตรกรไทย ทั้งในเรื่องการตลาด ของสินค้าเกษตร ที่ทุ่มตลาดจากการเปิดเสรีทางการค้า ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการสร้างเขื่อน และสุขภาวะของชนบทไทยโดยรวม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งทำการศึกษาและทำความเข้าใจ

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กลับบ้านฉลองตรุษจีน 2

 

โดย รศ. พรชัย ตระกูลวารานนท์
สาขามานุษยวิทยา
คณะสังคมวิทยและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                 เรื่องราวเกี่ยวกับตรุษจีน ซึ่งได้นำเสนอไปเมื่อวันก่อนยังไม่อาจนับได้ว่าสะเด็ดน้ำดีนัก  ผมเลยต้องขออนุญาตขยายความเพิ่มเติมเป็นตอนที่สอง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เล่าเรื่องความอึดอัดคับแค้นใจของคนหนุ่มสาวจำนวนหนึ่งซึ่งอาจไม่ได้มีโอกาสกลับบ้านไปฉลองตรุษจีนพร้อมหน้ากับครอบครัว  ซึ่งส่วนใหญ่ก็ด้วยสาเหตุทางเศรษฐกิจเป็นหลัก  แต่ก็ยังมีประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตรุษจีนอีกหลายประการ อันเป็นหัวข้อข่าวนำเสนอและวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อประเภทอื่นๆ ของจีน เช่น ประเด็นวันตรุษจีนตรงกับวาเลนไทน์ของฝรั่ง หนุ่มสาวจีนจะฉลองแนวตะวันออกหรือตะวันตกอย่างไร ประเด็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวฉลองเทศกาลวาเลนไทน์ในจีน จะเพิ่มจำนวนยอดนักท่องเที่ยวของปีนี้อย่างไรฯลฯ  มากมายหลายประการ

              กระทรวงคมนาคมจีนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้ให้ตัวเลขกับสื่อมวลชน ประมาณว่าในเทศกาลตรุษจีนปีนี้  จะมีคนเดินทางทั่วทั้งประเทศอยู่ที่ 2,540ล้าน เที่ยว/คน/ครั้ง  (ใครว่างๆลองเทียบกับสงกรานต์บ้านเราดูหน่อย ว่าเป็นกี่เท่าตัว)  ทั้งนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ7.7 ในจำนวนนี้จะเป็นการเดินทางโดยรถบัสโดยสาร 2,270ล้าน เที่ยว/คน/ครั้ง  โดยสารรถไฟ 210 ล้านเที่ยว/คน/ครั้ง  โดยสารเรือชนิดต่างๆ 32ล้านเที่ยว/คน/ครั้ง โดยสารทางเครื่องบินพานิชย 28.94 ล้านเที่ยว/คน/ครั้ง  ความโกลาหลนี้จะดำเนินไปจนถึงประมาณต้นเดือนมีนาคม กว่าที่เหตุการณ์ต่างๆจะกลับเข้าสู่ภาวะปรกติ  สาเหตุที่การเดินทางต้องลากยาวไปขนาดนั้น ไม่ได้เป็นเพราะคนจีนติดนิสัยหยุดเพลินหรือหยุดแถมท้ายแบบบ้านเรา  แต่ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาไม่สามารถหาตั๋วโดยสารได้จริงๆ เลยต้องทยอยกันออก และทยอยกันกลับมาทำงาน  แม้ทางการจีนจะยืนยันว่าได้เตรียมรถโดยสารไว้ถึง 820,000คัน  จัดเรือเพิ่มอีก 20,000ลำ และเพิ่มขบวนรถไฟให้สามารถวิ่งบริการตลอด 24 ชั่วโมงในเส้นทางสำคัญสายหลัก  แต่ก็ไม่อาจรองรับจำนวนผู้โดยสารให้เดินทางได้ครบถ้วนในเวลาหัวท้ายของช่วงเทศกาล

              ตัวเลขข้างต้น เป็นแต่เพียงภาพสะท้อนในเชิงปริมาณ  ทว่ายังมีปัญหาปลีกย่อยโกลาหลอื่นๆเกิดขึ้นควบคู่กันไป  บางเรื่องก็ฟังดูไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้  เช่นการปล้นชิงวิงราวตั๋วโดยสาร  จนทางการจีนต้องนำระบบการจำหน่ายตั๋วระบุชื่อผู้โดยสารเข้ามาใช้กับการโดยสารรถไฟในสถานีหลัก 37 แห่ง เสียเงินงบประมาณปรับเปลี่ยนระบบจำหน่ายตั๋วไปกว่า 100 ล้านหยวน  กระนั้นก็ตาม ยังมีผู้โดยสารบางรายใช้วิธีสวมรอย  สำนักข่าว ไชน่าเดลี รายงานว่า  ตำรวจรถไฟสถานีกวางเจา ในมณฑลกวางตง ได้จับตัวชายสองคนที่ต้องหาว่าใช้ตั๋วโดยสารในชื่อของบุคคลอื่น  ส่วนรายละเอียดว่าทั้งคู่ไปทุบตีแย่งชิงตั๋วรถไฟมาจากใคร ในรายงานข่าวไม่ได้บอกไว้  นอกจากนั้นยังมีรายงานข่าวจากตำรวจรถไฟในเมืองใหญ่อีกหลายแห่ง ว่ากำลังจับตาดูพฤติการณ์ผู้ซื้อตั๋วโดยสารบางราย ที่จองซื้อตั๋วจำนวนมากในบางเที่ยวของขบวนรถไฟสายหลัก  ทั้งนี้ด้วยเกรงกันว่าอาจนำไปจำหน่ายต่อในราคาสูงภายหลัง โดยใช้วิธีการขูดปลอมชื่อผู้โดยสาร  ในส่วนของตั๋วรถโดยสารระหว่างเมืองซึ่งยังไม่ได้ใช้มาตรการพิมพ์ชื่อผู้โดยสาร ปัญหาก็ดูจะมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นบริการขนส่งที่ประชาชนใช้มากที่สุด ในบางเมืองใหญ่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่ามีบริษัทจองตั๋วเถื่อนไม่ได้รับอนุญาต ใช้วิธีพิมพ์ตั๋วรถโดยสารปลอมหลอกขายประชาชนในราคาสูง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ไม่สามารถลางานไปเข้าคิวจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าได้   แต่ในท่ามกลางความโกลาหลทั้งหมดนี้ ก็ยังมีข่าวดีโผล่มาเป็นกำลังใจเล็กๆ  โดยรัฐบาลจีนให้คำมั่นว่าจะเร่งพัฒนาระบบการเดินรถไฟความเร็วสูงระยะทางกว่า 26,000 กิโลเมตร ให้ทันใช้ก่อนตรุษจีนปี 2012 เพื่อให้การเดินทางโดยรถไฟเป็นทางเลือกหลักของประชาชน  เพราะรัฐบาลเองก็คงเบื่อหน่ายกับการเดินทางโดยรถบัสโดยสารขนาดใหญ่ที่มักเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล กลายเป็นข่าวพาดหัวอยู่ทุกปี  หากระบบรถไฟความเร็วสูงสร้างเสร็จ นอกจากจะเพิ่มจำนวนเที่ยวรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้นแล้ว  ยังช่วยประหยัดเวลาเดินทางได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น ขบวนรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-ฮ่องกง จะใช้เวลาเพียง 8 ชั่วโมง จากเดิม 24 ชั่วโมง ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ เหลือเพียง 2 ชั่วโมง  เล่ามาถึงตอนนี้ ก็อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้  รถไฟรางคู่ของเรา ไปถึงไหนแล้วก็ไม่รู้

                 แต่ประเด็นที่ผมจะชวนคุยต่อเป็นภาค 2  ได้แก่ปัญหาการจัดการระบบขนส่งคมนาคมในช่วงก่อนและหลังเทศกาลตรุษจีน  ซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันทุกปีว่าสุดๆๆ  อันที่จริงถ้าจะว่ากันให้เป็นธรรมสักหน่อย  สำหรับประเทศที่มีประชากรพันสองร้อยจ่อพันสามร้อยล้านคนอย่างเช่นประเทศจีน  ไม่ว่าจะทำอะไรก็ล้วนแต่สุดๆๆได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าในด้านดีหรือด้านร้าย  เฉพาะเรื่องจัดการขนส่งคลื่นมนุษย์อพยพกลับบ้านตรุษจีน และจากบ้านกลับมาทำงานในเมือง  คงเป็นเรื่องอภิมหาโกลาหลวุ่นวายเกินกว่าที่คนปรกติทั่วไปจะจิตนาการได้ ประมาณการณ์ไว้ว่าตลอดช่วงระยะเวลาเกือบ 40 วันทั้งก่อนและหลังเทศกาลตรุษจีน  การจราจรขนส่งทุกประเภทในประเทศจีนจะเข้าสู่ช่วง ผิดปกติ มากเป็นพิเศษ



                   กระทรวงคมนาคมจีนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้ให้ตัวเลขกับสื่อมวลชน ประมาณว่าในเทศกาลตรุษจีนปีนี้  จะมีคนเดินทางทั่วทั้งประเทศอยู่ที่ 2,540ล้าน เที่ยว/คน/ครั้ง  (ใครว่างๆลองเทียบกับสงกรานต์บ้านเราดูหน่อย ว่าเป็นกี่เท่าตัว) เริ่มต้นนับตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา  ทั้งนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ7.7 ในจำนวนนี้จะเป็นการเดินทางโดยรถบัสโดยสาร 2,270ล้าน เที่ยว/คน/ครั้ง  โดยสารรถไฟ 210 ล้านเที่ยว/คน/ครั้ง  โดยสารเรือชนิดต่างๆ 32ล้านเที่ยว/คน/ครั้ง โดยสารทางเครื่องบินพานิชย 28.94 ล้านเที่ยว/คน/ครั้ง  ความโกลาหลนี้จะดำเนินไปจนถึงประมาณต้นเดือนมีนาคม กว่าที่เหตุการณ์ต่างๆจะกลับเข้าสู่ภาวะปรกติ  สาเหตุที่การเดินทางต้องลากยาวไปขนาดนั้น ไม่ได้เป็นเพราะคนจีนติดนิสัยหยุดเพลินหรือหยุดแถมท้ายแบบบ้านเรา  แต่ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาไม่สามารถหาตั๋วโดยสารได้จริงๆ เลยต้องทยอยกันออก และทยอยกันกลับมาทำงาน  แม้ทางการจีนจะยืนยันว่าได้เตรียมรถโดยสารไว้ถึง 820,000คัน  จัดเรือเพิ่มอีก 20,000ลำ และเพิ่มขบวนรถไฟให้สามารถวิ่งบริการตลอด 24 ชั่วโมงในเส้นทางสำคัญสายหลัก  แต่ก็ไม่อาจรองรับจำนวนผู้โดยสารให้เดินทางได้ครบถ้วนในเวลาหัวท้ายของช่วงเทศกาล
                 ตัวเลขข้างต้น เป็นแต่เพียงภาพสะท้อนในเชิงปริมาณ  ทว่ายังมีปัญหาปลีกย่อยโกลาหลอื่นๆเกิดขึ้นควบคู่กันไป  บางเรื่องก็ฟังดูไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้  เช่นการปล้นชิงวิงราวตั๋วโดยสาร  จนทางการจีนต้องนำระบบการจำหน่ายตั๋วระบุชื่อผู้โดยสารเข้ามาใช้กับการโดยสารรถไฟในสถานีหลัก 37 แห่ง เสียเงินงบประมาณปรับเปลี่ยนระบบจำหน่ายตั๋วไปกว่า 100 ล้านหยวน  กระนั้นก็ตาม ยังมีผู้โดยสารบางรายใช้วิธีสวมรอย  สำนักข่าว ไชน่าเดลี เมื่อต้นสัปดาห์รายงานว่า  ตำรวจรถไฟสถานีกวางเจา ในมณฑลกวางตง ได้จับตัวชายสองคนที่ต้องหาว่าใช้ตั๋วโดยสารในชื่อของบุคคลอื่น  ส่วนรายละเอียดว่าทั้งคู่ไปทุบตีแย่งชิงตั๋วรถไฟมาจากใคร ในรายงานข่าวไม่ได้บอกไว้  นอกจากนั้นยังมีรายงานข่าวจากตำรวจรถไฟในเมืองใหญ่อีกหลายแห่ง ว่ากำลังจับตาดูพฤติการณ์ผู้ซื้อตั๋วโดยสารบางราย ที่จองซื้อตั๋วจำนวนมากในบางเที่ยวของขบวนรถไฟสายหลัก  ทั้งนี้ด้วยเกรงกันว่าอาจนำไปจำหน่ายต่อในราคาสูงภายหลัง โดยใช้วิธีการขูดปลอมชื่อผู้โดยสาร  ในส่วนของตั๋วรถโดยสารระหว่างเมืองซึ่งยังไม่ได้ใช้มาตรการพิมพ์ชื่อผู้โดยสาร ปัญหาก็ดูจะมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นบริการขนส่งที่ประชาชนใช้มากที่สุด ในบางเมืองใหญ่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่ามีบริษัทจองตั๋วเถื่อนไม่ได้รับอนุญาต ใช้วิธีพิมพ์ตั๋วรถโดยสารปลอมหลอกขายประชาชนในราคาสูง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่ไม่สามารถลางานไปเข้าคิวจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าได้   แต่ในท่ามกลางความโกลาหลทั้งหมดนี้ ก็ยังมีข่าวดีโผล่มาเป็นกำลังใจเล็กๆ  โดยรัฐบาลจีนให้คำมั่นว่าจะเร่งพัฒนาระบบการเดินรถไฟความเร็วสูงระยะทางกว่า26,000กิโลเมตร ให้ทันใช้ก่อนตรุษจีนปี 2012 เพื่อให้การเดินทางโดยรถไฟเป็นทางเลือกหลักของประชาชน  เพราะรัฐบาลเองก็คงเบื่อหน่ายกับการเดินทางโดยรถบัสโดยสารขนาดใหญ่ที่มักเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาล กลายเป็นข่าวพาดหัวอยู่ทุกปี  หากระบบรถไฟความเร็วสูงสร้างเสร็จ นอกจากจะเพิ่มจำนวนเที่ยวรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้นแล้ว  ยังช่วยประหยัดเวลาเดินทางได้อย่างมาก ตัวอย่างเช่น ขบวนรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-ฮ่องกง จะใช้เวลาเพียง 8 ชั่วโมง จากเดิม24ชั่วโมง ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ เหลือเพียง 2 ชั่วโมง  เล่ามาถึงตอนนี้ ก็อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้  รถไฟรางคู่ของเรา ไปถึงไหนแล้วก็ไม่รู้

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กลับบ้านฉลองตรุษจีน

 
โดย รศ. พรชัย ตระกูลวรานนท์
สาขามานุษยวิทยา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


                 หากกล่าวถึงเทศกาลตรุษจีนจากประสบการณ์ของคนไทยหรือคนไทยเชื้อสายจีนในบ้านเรา ก็มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาตามยุคตามสมัย จากที่ยุคสมัยหนึ่ง ร้านรวงหยุดกิจการเงียบเหงาไปทั้งบ้านทั้งเมือง  เป็นเทศกาลหยุดงานยาวนานที่สุดของปี สำหรับภาคเอกชน  แต่มาถึงปัจจุบัน ตรุษจีนอาจลดความสำคัญลงในฐานะเทศกาลที่มีผลต่อธุรกิจการค้าหากเทียบกับเทศกาลสงกรานต์ ที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐให้กลายเป็นวันครอบครัว และมักมีมติคณะรัฐมนตรีให้เพิ่มวันหยุดแถมต่อหัวต่อท้ายเพิ่มเติมอยู่เสมอๆนัยว่าส่งเสริมการท่องเที่ยว  เลยทำให้เทศกาลสงกรานต์กลายเป็นช่วงหยุดยาวแห่งชาติโดยปริยาย
                 ในประเทศจีนเองก็เช่นกัน  ในยุคโบราณเทศกาลงานฉลองตรุษจีนอย่างต่ำสุดใช้เวลาต่อเนื่องถึง15 วัน นับแต่วันสงท้ายปีเก่ายาวไปถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนหนึ่งจีน ชนกับเทศกาลแรกของปีคือเทศกาลหยวนเซียว ครั้นมาถึงยุคจีนใหม่(คอมมิวนีสต์)  แม้ตรุษจีนยังคงถือเป็นเทศกาลหลักของชาติ แต่บรรดาพิธีกรรมต่างๆในรายละเอียด ก็ถูกละเลยไปมาก ยิ่งในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม  ตรุษจีนถูกกระทำในทางการเมืองให้เป็นพิธีการมากกว่าจะเป็นพิธีกรรมตามความเชื่อในวัฒนธรรมเดิมของจีน  เทศกาลตรุษจีนเป็น 1 ในเทศกาลที่มีการหยุดพักผ่อนยาวสิบวัน เช่นเดียวกับวันแรงงาน และวันชาติ 1 ตุลาคม มาถึงยุคปัจจุบัน เฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการปฏิรูปเปิดกว้างให้มีการพัฒนาแบบสมัยใหม่ เทศกาลตรุษจีนก็ดูจะคึกคักมากขึ้น  คล้ายๆกับการพัฒนาในหลายประเทศ จีนเองก็เริ่มผ่อนปรนให้มีแรงงานอพยพออกทำงานต่างมณฑลมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้แทบเป็นไปไม่ได้ภายใต้การผลิตแบบคอมมูนเดิม เทศกาลตรุษจีนก็เพิ่มความสำคัญในฐานะเกือบๆจะเป็นวันครอบครัว เพราะเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต่างคาดหวังว่าจะได้กลับบ้านไปร่วมฉลองรับปีใหม่พร้อมหน้าพร้อมตากัน อย่างน้อยก็หยุดยาวสิบวันอยู่กับครอบครัวพ่อแม่  ยิ่งคนที่ทำงานหากินต่างถิ่นไกลบ้านเกิด ก็จะยิ่งตั้งตาคอยมากเป็นพิเศษ
                 แต่มาถึงทุกวันนี้  เรื่องราวการกลับบ้านเพื่อฉลองตรุษจีน ไม่ใช่เรื่องสนุกที่ตั้งตาคอยสำหรับคนทุกกลุ่มในสังคมจีนเสียแล้ว มีรายงานข่าวปรากฏในหนังสือพิมพ์จีนหลายฉบับ  และเป็นประเด็นสนทนาบนอินเตอร์เน็ทจีน สะท้อนภาพปัญหาและความหนักใจของหนุ่มสาวจีนจำนวนมาก ตัวอย่างหนึ่งที่มีการโพสต์ลงบนอินเตอร์เน็ท ได้แก่ จดหมายสารภาพถึงพ่อ ซึ่งได้รับการกล่าวขานและแสดงความคิดเห็นมากที่สุดประเด็นหนึ่งในโลกอินเตอร์เน็ทของจีน เนื้อความในจดหมาย พรรณนาว่า ตัวเองสู้อุตสาห์เรียนจนจบมหาวิทยาลัย ทุมเทกว่าจะหางานทำในเมืองได้ก็เกือบปี บัดนี้มีงานทำมาได้กว่าหกเดือนแล้ว แต่เงินเดือนที่ได้เพียงแค่พันกว่าหยวนต่อเดือน  น้อยกว่าเงินเดือนกรรมกรของพ่อที่เป็นแรงงานอพยพทำงานก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายแค่เดือนชนเดือนก็แสนลำบาก  เขารู้สึกละอายใจที่ทำให้ครอบครัวต้องผิดหวัง ไม่มีหน้าจะกลับบ้านไปฉลองปีใหม่กับพ่อและแม่ ทันทีที่จดหมายฉบับนี้เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ท ก็มีคนหนุ่มสาวมากมาย แห่เข้าไปให้กำลังใจกับเจ้าของจดหมาย  พร้อมทั้งสนับสนุนให้กับบ้านไปหาพ่อแม่ ไม่ว่าจะมีเงินหรือไม่ก็ตาม อีกทั้งยังเล่าชีวิตส่วนตัวว่าพวกเราหนุ่มสาวที่ทำงานหลังเรียนจบก็เป็นแบบเดียวกัน บางคนต้องโกหกครอบครัวมาโดยตลอด ว่าได้งานดีเงินดีชีวิตมีความสุขมาก แต่กลับบ้านช่วงตรุษจีนไม่ได้เพราะต้องทำงานพิเศษหาเงินเพิ่ม บ้างก็ต้องโกหกพ่อแม่ว่าบริษัทมียอดขายสินค้าส่งออกเพิ่ม จำเป็นต้องอยู่ทำงานเพิ่มผลผลิตสินค้าฯลฯ  สารพัดข้อแก้ตัวที่จะไม่กลับบ้านไปฉลองตรุษจีน



                 การที่บัณฑิตใหม่ทำงานได้เงินเดือนน้อย อาจดูเป็นเรื่องสวนกระแสอยู่พอสมควร  เพราะเมื่อไม่นานมานี้เองเพิ่งจะมีการสำรวจเงินเดือนเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของรัฐวิสาหกิจจีนเมื่อต้นปี2010  พบว่าเงินเดือนโดยเฉลี่ยมากกว่า 600,000 หยวนต่อปี เพิ่มจากค่าเฉลี่ย 550,000 หยวนในปีที่แล้ว จะว่ามากก็มาก จะว่าน้อยก็พูดได้ อยู่ที่จะเปรียบเทียบกับใครประเทศไหน  แต่สำหรับเด็กจบใหม่ โดยเฉพาะสำเร็จจากมหาวิทยาลัย  ความคาดหวังทั้งของพ่อแม่และตัวบัณฑิตเอง  กลับตรงข้ามกับชีวิตจริงของตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง ในบรรดาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2009 จำนวน 6.11 ล้านคน มีเพียง 4.15 ล้านคนที่สามารถหางานทำได้ภายในหกเดือน  เท่ากับร้อยละ 68  ในขณะที่ปี 2008 มีบัณฑิตหางานทำได้ 4.05ล้านคนจากบัณฑิตใหม่ 5.59 ล้านคน ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าตัวเลขเด็กใหม่ที่ยังหางานไม่ได้ในปีที่สำเร็จการศึกษา  จะพอกทบเข้าไปแข่งขันหางานร่วมกับบัณฑิตรุ่นน้องที่สำเร็จการศึกษาในปีถัดไป  จำนวนบัณฑิตที่ผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี  กับตำแหน่งงานที่อาจไม่ได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่เท่ากัน สะท้อนภาพอะไรหลายอย่าง ซึ่งคงกลายเป็นประเด็นปัญหาทางสังคมที่ผู้บริหารระดับสูงของจีนจะต้องปวดหัวหาทางแก้ไข แต่ที่แน่ๆ ตรุษจีนปีที่จะถึงนี้ หนุ่มสาววัยทำงานของจีนจำนวนมาก จะไม่ได้กลับบ้านไปฉลองปีใหม่กับพ่อแม่  หลายครอบครัวคงต้องเหงาใจอ่านจดหมายแก้ตัว(โกหก)ของลูก



ทุกข์ของหนุ่มจีน

โดย รศ.พรชัย  ตระกูลวรานนท์ 
สาขามานุษยวิทยา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                 หนังสือพิมพ์ เหรินหมิน ของจีนเคยเสนอรายงานข่าวว่า ในอีกสิบปีข้างหน้า ร้อยละ20 ของหนุ่มจีนในวัยแต่งงาน อาจต้องครองตัวเป็นโสด  ทั้งนี้ด้วยเหตุที่สัดส่วนประชากรชายหญิงอายุต่ำกว่า 19 ปีของจีนปัจจุบัน กำลังเสียสมดุลอย่างเห็นได้ชัด  อันที่จริงก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะนับแต่รัฐบาลจีนเริ่มนโยบายลูกคนเดียว นักวิชาการจำนวนมากก็เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าแล้ว  แต่ที่กลายมาเป็นประเด็นข่าวกันอีกในช่วงนี้ ก็เพราะเริ่มมีแนวโน้มทางสังคมที่ชี้ให้เห็นว่า สัดส่วนประชากรชายหญิงที่ไม่ได้สมดุลนี้ ไม่เพียงส่งผลให้ผู้ชายจำนวนหนึ่งไม่สามารถหาคู่ครอง แต่ยังอาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างรูปแบบครอบครัวสมัยใหม่ โครงสร้างตำแหน่งงานในตลาดแรงงาน และอื่นๆตามมาอีก
                 รายงานข่าวข้างต้น เป็นผลสืบเนื่องจากเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา สภาสังคมศาสตร์แห่งชาติของจีน ได้ตีพิมพ์รายงาน สมุดปกน้ำเงิน สถานการณ์ทางสังคม 2010ส่วนหนึ่งในรายงานได้เสนอภาพสถานการณ์ประชากร โดยให้ตัวเลขสัดส่วนชายหญิงในกลุ่มประชากรอายุต่ำกว่า 5 ปีไว้ที่ 100/123.26 สำหรับท่านผู้อ่านทั่วไป ตัวเลขชุดนี้อาจไม่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษแต่อย่างใด  แต่ถ้านึกถึงประชากรจีนพันกว่าล้านคน นั่นอาจหมายความว่าในปี ค.ศ. 2020 จะมีหนุ่มจีนวัยหาคู่  30-40 ล้านคนที่ไม่อาจหาแฟนหรือหาภรรยาได้  นี่เป็นเพียงเรื่องตัวเลขล้วนๆ  ยังไม่นับปัจจัยเรื่องรวยหรือจน หล่อหรือไม่หล่อ  รสนิยมบุคลิกเป็นที่ต้องตาต้องใจฝ่ายหญิงหรือไม่ฯลฯ
                 อันที่จริงโครงสร้างประชากรมนุษย์แต่ไหนแต่ไรมา ไม่ว่าจะเป็นในภูมิภาคใดของโลก  เป็นธรรมชาติที่ประชากรชายจะมีมากกว่าประชากรหญิงในช่วงวัยเดียวกัน  ในทางประชากรศาสตร์ สถิติค่าเฉลี่ยทั่วโลกในทุกยุคสมัย ระหว่างเด็กชายและเด็กหญิง  อยู่ที่105±2 กล่าวคือจะมีผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ร้อยละ 3-7 คน  ในระหว่างที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ สัดส่วนทางประชากรชุดนี้ก็จะถูกปรับเข้าสู่สมดุล  เพราะผู้ชายมีอายุขัยเฉลี่ยต่ำกว่าผู้หญิง โดยเหตุที่วัฒนธรรมในสังคมส่วนใหญ่ เด็กผู้ชายใช้ชีวิตเสี่ยงกว่าเด็กผู้หญิง กล่าวอย่างง่ายๆก็คือ เกิดเยอะกว่านิดหน่อย และก็ตายเร็วกว่านิดหน่อย  ลงท้ายก็จะมีพอๆกัน  ในประเทศจีน สัดส่วนเด็กชายต่อเด็กหญิงเริ่มปรับเปลี่ยนทะลุค่าเฉลี่ยมาตรฐานร้อยละ7มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 80  แต่หากสัดส่วนชายหญิงห่างกันถึงร้อยละ 23.26 อย่างที่เป็นอยู่ในประเทศจีนปัจจุบัน  สภาพการณ์เช่นนี้จัดว่าเป็นเรื่องใหญ่มากทีเดียว เพราะต่อให้ผู้ชายตายไประหว่างเส้นทางการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ชกต่อยฆ่าฟันกันบ้าง ไปซิ่งไปแว้น รถชนตายบ้าง อย่างเก่งก็ไม่ถึงสามคนห้าคน ในหนึ่งร้อยชีวิต  ท้ายสุดสัดส่วนประชากรชายก็จะสูงกว่าถึงร้อยละ 20
                เรื่องสัดส่วนประชากรชายหญิง ไม่ได้จบเพียงแค่ผลกระทบในการหาแฟนไม่ได้เท่านั้น  ถ้าสถานการณ์ยังดำเนินไปตามที่พยากรณ์ไว้  โครงสร้างแรงงานและสัดส่วนคนทำงานระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงก็จะเพี้ยนไปด้วย  จะมีผู้ชายมากกว่าผู้หญิงในทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในสายงานการบังคับบัญชาและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน  ซึ่งโดยวัฒนธรรมจีนผู้ชายได้เปรียบอยู่แล้ว สถานการณ์ก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น เพราะมีจำนวนผู้หญิงที่จะแข่งขันในตำแหน่งระดับบริหารน้อยกว่าคู่แข่งชาย แบบแผนพฤติกรรมการบริโภค และการตลาดของสินค้าต่างๆก็อาจเปลี่ยนแปลงไป  จากที่เดิมการตัดสินใจในการบริโภคสินค้าและบริการส่วนใหญ่จะมาจากฝ่ายหญิง  บรรดาโฆษณาขายสินค้าและสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ อาจต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ว่าจะเจาะกลุ่มผู้บริโภคอย่างไร  เพราะในอีกสิบปีข้างหน้า ผู้ชายจะกลายมาเป็นตัวกำหนดแบบแผนการบริโภคและการจับจ่ายใช้สอยหลักของตลาดก็เป็นได้
                  แนวโน้มผลกระทบอีกประการคือพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ  เริ่มปรากฏมีผู้ชายคบหาใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนชายให้เห็นในประเทศจีนบ้างแล้ว แม้สังคมส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับ  ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีแนวโน้มใหม่ว่าผู้ชายอาจยินยอมแต่งงานกับเจ้าสาวที่อายุมากกว่า  หรือในบ้างกรณีอาจต้องยอมแต่งงานกับแม่หม้ายข้ามรุ่นด้วยซ้ำไป  โอกาสที่ฝ่ายหญิงจะเรียกร้องสิทธิ์และเงื่อนไขการแต่งงานก็จะมีเพิ่มมากขึ้น  อย่างที่เคยเป็นข่าวเล็กๆปรากฏในหนังสือพิมพ์เมื่อปีที่แล้ว ว่ามีคู่หมั้นหมายหนุ่มสาวคู่หนึ่ง คบหาเป็นแฟนมายาวกว่า 5 ปี แต่ในที่สุดก็เลิกกันไปไม่อาจจบแบบมีความสุข เพราะครอบครัวฝ่ายหญิงวางเงื่อนไขว่าหลังแต่งงาน ฝ่ายเจ่าบ่าวต้องย้ายเข้ามาในครอบครัวเจ้าสาวเพื่อช่วยดูแลว่าที่พ่อตาแม่ยายที่แก่มากแล้ว และฝ่ายหญิงก็ไม่อาจตัดใจย้ายออกจากครอบครัวพ่อแม่เธอ  กลายเป็นเรื่องผิดธรรมเนียมปฏิบัติตามวัฒนธรรมสืบสายสกุลฝ่ายชายที่ถือกันเคร่งครัดในจีน ยอมกันไม่ได้ ลงเอยต้องเลิกกันไป  แต่ใครจะทราบได้ ว่าการผิดธรรมเนียมปฏิบัติแบบนี้ ในอนาคตอาจมีเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้ชายจำนวนมากอาจไม่มีทางเลือก หากอยากแต่งงาน  ถ้าอยากปวดสมอง คิดมากยิ่งขึ้นไปอีก ก็จะเห็นผลกระทบไม่รู้จบ  เช่น เด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่อยู่ท่ามกลางญาติฝ่ายแม่  โครงสร้างสังคมและเครือญาติในอนาคตของจีนจะเป็นเช่นไร
                 สังคมจีนในอนาคตจะจัดการอย่างไรกับเรื่องแบบนี้  คงเป็นประเด็นที่เดาได้ลำบาก  แต่ที่รู้แน่ๆ ตอนนี้คนที่ออกจะเป็นทุกข์  เห็นจะเป็นบรรดาหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่จีนที่ยังไม่ได้แต่งงาน  ยิ่งตัดสินใจสละโสดช้าเท่าไร  คู่แข่งแย่งสาวในอนาคตก็จะยิ่งมีมากขึ้น  นักวิชาการบ้างท่านที่มองโลกในแง่ดี  ยุยงส่งเสริมในทำนองพยากรณ์ว่า แนวโน้มการหาภรรยาที่ไม่ใช่ชาวฮั่น ดูจะมีมากขึ้น  มากพอๆกับการที่หนุ่มๆชาวจีนอาจจะพากันออกต่างมณฑลที่ยังไม่เจริญนัก ที่ซึ่งหญิงสาวยังไม่จู้จี้เรียกร้อง หรือมีเงื่อนไขการแต่งงานที่โหดเกินไป  คราวนี้คนที่เป็นทุกข์ก็อาจกลายเป็นหนุ่มจีนบ้านนอก  และชนชาติส่วนน้อยของจีน  ที่อาจต้องเสียดุลย์ยกสาวให้หนุ่มชาวฮั่น




วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บ้านคือวิมานของเรา

โดย รศ. พรชัย ตระกูลวรานนท์
สาขามานุษยวิทยา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

           หนึ่งในวลีดังหรือประโยคฮิตแห่งปี 2552 ที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในหนังสือพิมพ์ เหริ่น-หมิน และ ไชน่าเดลีได้เกาะติดทำเป็นสกรู๊ปพิเศษมาอย่างต่อเนื่องคือ เฉือนเนื้อและร่างกาย ชดใช้หนี้น้ำใจ ฟังแบบนี้แล้ว หลายท่านก็คงรู้สึกว่าไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับที่จั่วหัวต้นคอลัมน์  กรุณาอดใจสักนิด ผมจะขยายความให้ฟัง  วลีดังอันดับที่หกที่ว่านี้  มาจากบทพูดของนางเอกในละครทีวีจีนที่ถูกถอดออกจากผังรายการ เพราะมีเนื้อหาล่อแหลม ตกเป็นข่าวโด่งดังมากเรื่อง อัว[ กัว]-จวี( 蜗居) สำนวนจีน ประมาณว่าซุกอยู่ในกระดองหรือแปลตรงๆว่าอยู่ในเปลือกหอยทาก) เรื่องโดยย่อกล่าวถึงคู่สามีภรรยาและลูกน้อยวัย2ขวบ ที่ดิ้นรนต่อสู้ชีวิต เพียงเพื่อให้มีบ้านสักหลัง แต่ก็ต้องฟันฝ่าอุปสรรคสารพัดเพื่อความฝัน ทั้งที่จบจากมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง แต่ดูเหมือนความฝันที่จะมีบ้านสักหลังในเซี่ยงไฮ้ห่างไกลยิ่งขึ้นทุกที่ แม้กู้หนี้ยืมเงินญาติแล้วก็ยังไม่เพียงพอ น้องสาวซึ่งเป็นตัวเอกในเรื่องลงเอยด้วยการยอมตัวเป็นภรรยาน้อยของข้าราชการที่ทรงอิทธิพลเพื่อหาเงินและเส้นสายช่วยเหลือพี่ของตนทั้งๆที่มีคนรักอยู่แล้ว แม้ท้ายที่สุดความฝันที่จะมีบ้านสำเร็จเป็นจริง แต่ก็แลกด้วยความเจ็บปวดและความขัดแย้งคับแค้นใจมากมาย แม้ละครจะถูกถอดออกจากผังกลางครัน แต่ก็ประทับใจและสะท้อนอารมย์ความรู้สึกของมนุษย์เงินเดือนเกือบทั้งหมดที่ดิ้นรนทำงานหาอนาคตและความเจริญอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศจีน


                 ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย นับเป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของหนุ่มสาวจีนก็ว่าได้ จากผลการสำรวจออนไลน์ของหนังสือพิมพ์ ยุวชนจีน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552  กว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ 360,000 คน เชื่อว่าบ้านคือปัจจัยสำคัญที่สุดของความสุขในชีวิต  แม้จะมีสำนวนเชิงถากถางที่ว่า การเป็นทาสทำงานหนักเพื่อผ่อนบ้านเป็นสิ่งน่าสมเพชของชีวิต  แต่หนุ่มจีนสาวจีนหลายสิบล้านชีวิตก็ยินดีอย่างยิ่งและพร้อมที่จะตกเป็นทาส  เพราะที่น่าสมเพชยิ่งกว่า คือแม้จะทำงานหนักเก็บออมมาครึ่งชีวิต แต่คนจำนวนมากมายในเมืองใหญ่ก็ยังไม่สามารถได้รับเกียรติอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อให้ได้ฐานะเป็นทาสผ่อนบ้าน  ค่านิยมที่มีรากฐานจากสังคมชนบทจีนเกี่ยวกับบ้านและที่ดิน  ไปด้วยกันไม่ได้กับความเป็นจริงของราคาบ้านราคาห้องชุดในเมืองใหญ่  หนุ่มจีนสาวจีนที่ได้รับการศึกษา มีความคาดหวังต่ออนาคตการงานและสถานภาพทางสังคม  จึงกลับต้องตกอยู่ในกับดักที่ตัวเองดิ้นรนเข้าไปติด  ทำงานในคอกหนึ่งตะรางเมตรในอาคารบริษัท กินข้าวกล่องราคาถูกวันละสามมื้อ เบียดเสียดยัดทะนานบนรถโดยสารสาธารณะเช้า-เย็น เพื่อว่าเมื่อถึงปลายเดือนจะได้มีเงินเหลือเพียงพอผ่อนห้องชุด
                 ไม่เพียงแต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในมหานครอย่างเซี่ยงไฮ้ อันเป็นฉากของละครข้างต้น  ตลาดที่อยู่อาศัยในหัวเมืองหลักๆของจีนทุกภูมิภาคต่างกำลังเดินหน้าแข่งขันเต็มตัว  จากข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน  ราคาสินทรัพย์ที่อยู่อาศัยใน 70 หัวเมืองใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราตั้งแต่ ร้อยละ1.5 ถึง 4.4 ในแต่ละปี  ที่อยู่อาศัยห้องชุดระดับกลาง เป็นกลุ่มที่มีการปรับตัวของราคามากที่สุด ยกเว้นในปี 2008 ซึ่งเกิดจากแรงช็อกวิกฤติซับไพร์มในสหรัฐฯ ที่ว่ามานี้เป็นค่าร้อยละโดยเฉลี่ย แต่ภาพในเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจอย่าง กวางเจา เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง ราคาที่อยู่อาศัยปรับเพิ่มมากกว่าร้อยละ 12 มาโดยต่อเนื่องหลายปี  เฉพาะอย่างยิ่งกระแสข่าวที่รัฐบาลจีนจะเพิ่มมาตรการเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินต่างๆ ข่าวลือเรื่องมาตรการชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจในต้นปีนี้ ตลอดจนการปรับเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยที่ยังไม่ทราบกันว่าจะบังคับใช้เมื่อใด  ทำให้พอจะประเมินได้ว่าในไตรมาศแรกของปีนี้ ราคาที่อยู่อาศัยจะปรับตัวสูงเป็นพิเศษตามอุปสงค์ เพราะผู้คนคงเร่งตัดสินใจพากันไปเป็น ทาสผ่อนบ้านในขณะที่ยังมีโอกาส ก่อนที่มาตรการต่างๆที่ร่ำลือกันจะเริ่มบังคับใช้ ซึ่งหมายความว่าแม้ราคาบ้านจะปรับตัวลง แต่เกณฑ์คุณสมบัติการขอกู้และอัตราดอกเบี้ย คงทำให้ผู้คนฝันค้างเรื่องบ้านไปอีกนาน ทีนี้อย่าว่าแต่ เฉือนเนื้อและร่างกายเลย ต่อให้ขายชีวิตก็ไม่แน่ว่าจะพอผ่อนบ้านหรือเปล่า

สุสานโจโฉ

โดย รศ.พรชัย ตระกูลวรานนท์
สาขามานุษยวิทยา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

             

          การค้นพบสุสานมหาอุปราชโจโฉตัวเอกสำคัญในวรรณคดีคลาสสิก “สามก๊ก เป็นข่าวใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักโบราณคดี คนในแวดวรรณกรรม และบุคคลทั่วไป  โจโฉเป็นใคร สำคัญอย่างไร คงไม่ต้องบอก เพราะคนไทยเรารู้จักกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจากหนังสือพงศาวดารแปล หรือจากดีวีดีละครทีวีชุดยาวที่เข้ามาขายอยู่มากมายหลายเวอร์ชั่น
               อันที่จริง ในหมู่นักโบราณคดีทั้งของจีนและต่างชาติบางส่วน มีข่าวเล็ดลอดมาตั้งแต่กลางปี 2552 ว่าจะมีข่าวการค้นพบใหญ่เกี่ยวกับโจโฉ  นักวิชาการและสื่อมวลชนจีนสายศิลปวัฒนธรรมที่ได้ข่าว ต่างก็ยังไม่ปักใจเชื่อ เพราะเป็นที่ทราบกันในแวดวงประวัติศาสตร์และโบราณคดีจีนมานานแล้ว ว่าท่านมหาอุปราชโจโฉ แกเล่นทำสุสานทั้งจริงทั้งหลอกไว้ตั้ง๗๒แห่ง นัยว่าเพื่อป้องกันโจรปล้นสุสานไม่ให้พบและทำลายสุสานจริงได้โดยง่าย  แม้จะไม่มีใครรู้เป็นแน่ชัดว่าท่านมหาอุปราชทุ่มทุนสร้างสุสานปลอมๆไว้มากมายขนาดไหน  แต่บันทึกประวัติศาสตร์และตำนานที่ถ่ายทอดบอกต่อกันมาในชั้นหลังก็ทำให้เชื่อกันโดยทั่วไปทั้งชาวบ้านและนักวิชาการ ว่ามีสุสานหลอกๆ สร้างไว้ในนามของท่านมหาอุปราชอยู่เยอะมาก  ฉะนั้นการที่มีข่าวเล็ดลอดว่าเจอสุสานโจโฉ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องฟังหูไว้หู  อย่างไรก็ดี พอล่วงเข้าเดือนตุลาคมข่าวเกี่ยวกับสุสานโจโฉก็เริ่มหนาหูมากขึ้น จนชาวบ้านทั่วไปก็รับรู้ ร้ายไปกว่านั้นยังมีข่าวว่าชาวบ้านบางส่วนที่มีข้อมูลภายใน พากันไปขุดคุ้ยหาของโบราณ ทำนองว่าแอบปล้นสุสาน  จนในที่สุดเจ้าหน้าที่และหน่วยงานโบราณคดีมณฑลเหอหนานต้องออกมาแถลงข่าวในวันที่ 27 ธันวาคม ว่าได้มีการค้นพบสุสานขนาดใหญ่พร้อมด้วยโครงกระดูกมนุษย์ 4 โครง เป็นชายสูงอายุหนึ่งโครง และหญิงสามโครง รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก ที่เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน จากหลักฐานทางโบราณคดีและแผ่นจารึก เชื่อว่าเป็นสุสานจริงของมหาอุปราชโจโฉในยุคสมัยสามก๊ก  พร้อมๆกันการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการของเจ้าหน้าที่รัฐ  ทหารและตำรวจจำนวนหนึ่งได้เข้าควบคุมแหล่งขุดค้นดังกล่าวอย่างเข้มงวด  แต่เรื่องก็ยังไม่จบดี เพราะมีมือดีแอบโพสต์ข้อความลงในอินเตอร์เน็ทว่าหลักฐานหลายชิ้นที่ระบุว่าเป็นสุสานจริงของโจโฉเช่นป้ายดินเผาชื่อโจโฉ เป็นของที่พวกโจรขุดสุสานไปแอบซุกไว้ แม้เป็นของเก่าจริงแต่ก็ไม่ใช่ของแท้ในแหล่งขุดค้น  นักวิชาการและนักโบราณคดีอิสระจำนวนมากที่มีแนวโน้มไม่ยอมเชื่อแต่แรกว่าเป็นสุสานจริง  ก็ออกมาร่วมผสมโรงยกเหตุผลต่างๆในบันทึกประวัติศาสตร์และตำนานมาคัดค้านว่าสุสานที่แท้จริงของโจโฉไม่น่าจะอยู่ที่เมืองอันหยาง แต่น่าจะเป็นจุดอื่นในมณฑลเหอหนานบริเวณใกล้นครเจิ้งโจวอันเป็นเมืองเอกของมณฑล  ร้อนถึงผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการของสภาสังคมศาสตร์แห่งชาติ  ต้องออกมาแถลงรับรองที่ปักกิ่ง  รวมทั้งผู้อำนวยการสำนักโบราณคดีและมรดกทางวัฒนธรรม ก็ต้องออกมาชี้แจงเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางโบราณคดี รวมทั้งความเป็นไปได้ที่โครงกระดูกเพศชายที่ขุดพบในสุสานจะเป็นโครงกระดูกของโจโฉเอง  ข้อมูลใหม่ที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อนก็ค่อยๆทยอยโผล่มาที่ละเล็กละน้อย เช่นมีการยอมรับว่าได้เริ่มต้นการขุดค้นมาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2551 สืบเนื่องจากการที่มีโจรลักลอบขุดสุสานนำแผ่นจารึกดินเผาไปขายในตลาดค้าของเก่า  และกระตุ้นให้เกิดกระแสล่าขุมสมบัติโจโฉขึ้นในหมู่โจรปล้นสุสาน อันเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของมณฑลและนักโบราณคดีติดตามร่องรอยได้  จนแม้ทุกวันนี้ข้ามปีแล้วข่าวเกี่ยวกับเบื้องลึกเบื้องหลังการค้นพบสุสานก็ยังไม่จบ ยังไม่นับบรรดากระทู้ในเว็บไซต์จีน ที่มีทั้งเห็นด้วยบ้าง ไม่เชื่อบ้าง อีกมากมายบานเบอะ จนทางการจีนและสำนักข่าวจีนหลายแห่งต้องเปิดเว็บไซต์ให้ข้อมูลกันเป็นการเฉพาะทำท่าจะเป็นมหากาพย์เรื่องยาวไม่แพ้พงศาวดารสามก๊ก
           
            
          ที่ผมเอาเรื่องสุสานโจโฉมาเล่าต่อนี้ ก็เพราะอยากจะชี้ให้เห็นว่าประเทศจีนในเวลานี้ ตื่นตัวกันมากในเรื่องประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรม ทั้งในฝ่ายราชการและประชาชนทั่วไป ยิ่งกว่านั้นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์จำนวนมากก็ยังถูกพัฒนาจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เกิดเป็นอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมที่ต่อยอดได้อีกมาก  อย่างสุสานโจโฉที่ว่ามานี้  ผมรับรองได้เลยว่าไม่เกินสองหรือสามปีต่อแต่นี้  จะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งใหม่ของมณฑลเหอหนานนอกเหนือไปจากวัดเส้าหลิน ถ่ำหลงเหมิน เมืองลั่วหยาง เมืองไคเฟิงฯลฯ   ป้ายชื่อโจโฉ แผ่นดินเผาจารึก รวมทั้งหมอนกระเบื้องหนุนนอนของโจโฉ คงทยอยกลายเป็นสินค้าท่องเที่ยวไปด้วย  แบบเดียวกับที่เป็นมาแล้วในกรณีสุสาน จิ๋นซี ที่ซีอาน  ทั้งหมดนี้เล่าให้ฟังเฉยๆ ไม่ได้มีเจตนาจะเทียบเคียงกับใครหรือประเทศไหนหรอกครับ