ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ ชุมชนแห่งความรู้ด้านจีนศึกษา


ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ชุมชนวิชาการจีนศึกษา

ชุดโครงการวิจัยจีนศึกษานี้ นอกจากจะมุ่งสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อให้ทันกับความจำเป็น และความต้องการของประเทศ ทั้งในแวดวงวิชาการชั้นสูงแล้ว ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการบูรณาการความรู้ เพื่อวางแผนการพัฒนาประเทศ "ชุดโครงการวิจัยจีนศึกษา" จึงเป็นการมุ่งเปิดมุมมองการศึกษา เกี่ยวกับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในชนบทจีน ความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลจากการพัฒนาทางอุตสาหกรรม กระบวนการ นคราภิวัตร คู่ความสัมพันธ์และขัดแย้งระหว่างเมืองและชนบทของจีน ปัญหาทางเศรษฐกิจ และ การปรับตัวของทั้งเมือง ต่อชนบท และทั้งของชนบทต่อเมือง อันเป็นผลพวงจาก นโยบายปฏิรูปเปิดกว้างของรัฐบาลจีนในช่วงเกือบ30ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบททางสังคมและการเมือง ซึ่งยังได้รับความสนใจศึกษาทางวิชาการไม่มากนัก ตลอดจนศึกษาผลกระทบจากการดำเนินนโยบายต่อภาคการเกษตรและการพัฒนาชนบทของจีนที่เกิดขึ้น การลงทุนภาคเกษตรของจีนในประเทศเพื่อนบ้าน ย่อมเลี่ยงไม่พ้นที่จะส่งผลต่อภาคการเกษตรและชนบทในภูมิภาคใกล้เคียง ในหลายกรณี การขยายตัวของสินค้าเกษตรส่งออกของจีน นโยบายแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำภาคเกษตร ในจีน ได้ส่งผลโดยตรงแล้วต่อเกษตรกรไทย ทั้งในเรื่องการตลาด ของสินค้าเกษตร ที่ทุ่มตลาดจากการเปิดเสรีทางการค้า ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการสร้างเขื่อน และสุขภาวะของชนบทไทยโดยรวม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งทำการศึกษาและทำความเข้าใจ

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เงินเฟ้อมาแล้ว

โดย รศ. พรชัย ตระกูลวรานนท์
สาขามานุษยวิทยา
คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


                      บ้านเราปีนี้ทำท่าจะหนาว แต่ก็ยังไม่ยักจะหนาวแบบเป็นจริงเป็นจังอย่างที่ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะตั้งความหวังไว้ ตอนเดือนตุลาคมบรรดาสำนักพยากรณ์อากาศทั้งหลายต่างก็ออกมาขู่ว่าปีนี้น้ำมาก หนาวแน่ หนาวชัวร์ แต่จนแล้วจนรอดไอ้ที่เรียกว่าหนาวก็ยังไม่เห็นว่าจะมาถึงกรุงเทพฯเสียที มีแต่ข่าวลมหนาวตามเขตป่าเขาในชนบทห่างไกลเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่สำหรับประเทศจีนนั้น ฤดูหนาวแบบของจริง มาถึงเรียบร้อยแล้ว ดัชนีสำคัญที่ชาวจีนทั่วไปใช้ในการยืนยันว่าหนาวแล้ว ก็คือราคาอาหารประเภทผักผลไม้ทั้งหลาย ตอนนี้ราคาแพงทั่วหน้าทุกรายการเรียบร้อยแล้ว  นอกจากผักหญ้าอาหารการกินจะขยับราคาขึ้น ตอนนี้เริ่มมีปรากฏการณ์นำร่องว่าปีนี้จีนจะเจอกับปัญหาความขาดแคลนน้ำมันดีเซลอย่างหนักอีกรอบ โดยเหตุที่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนทั่วไปได้เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงสิบกว่าปีหนังมานี้ ปริมาณความต้องการน้ำมันดีเซลและก๊าซธรรมชาติเพื่อทำความอบอุ่นในที่อยู่อาศัยเลยเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี อย่างไรก็ดี ประเด็นที่ผมอยากจะชวนคุยในสัปดาห์นี้ ไม่ใช่เรื่อง ผักแพงหรือก๊าซแพงเฉยๆ แต่กำลังจะชวนคุยเรื่องเงินเฟ้ออย่างที่จั่วหัวข้อบทความไว้ข้างต้น


                  เรื่องเงินเฟ้อในจีนนั้นเป็นเรื่องใหญ่มากเรื่องหนึ่ง อย่างที่ผมเองได้เคยเกริ่นไปแล้วครั้งหนึ่งในบทความเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน การคงค่าเงินให้อ่อนไว้ หรือปล่อยค่าเงินหยวนให้แข็งค่า ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นใหญ่ท้าทายการตัดสินใจของผู้บริหารที่ดูแลระบบเศรษฐกิจของจีน สำหรับรัฐบาลจีน โจทย์ใหญ่ไม่ได้อยู่ที่การส่งออกสินค้าจีนอย่างเดียว แต่ที่สำคัญกว่าคือเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและภาวะการจ้างงานภายในประเทศของจีนเอง  ด้านหนึ่งจีนต้องพยายามดิ้นรนรักษาระดับความเติบโตทางเศรษฐกิจในขณะที่ตลาดทั่วโลกกำลังซบเวา ในอีกด้านหนึ่งก็ต้องค่อยระวังไม่ให้การลงทุนที่ร้อนแรง(อันเนื่องจากเงินทุนภายนอกไหลเขามาลงทุนหากำไรในจีน)กระตุ้นให้เกิดวิกฤติเงินเฟ้อ  ที่ผ่านมารัฐบาลจีนไต่เส้นลวดประคับประคองมาได้ดีพอสมควร  แต่ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคล้าสุด ออกมาน่าเป็นห่วงพอสมควร ตัวอย่างเช่น ข้อมูลของกระทรวงพานิชย์จีนชี้ว่า ในช่วงสิบวันแรกของเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา พืชผักหลักๆ16ชนิดที่วางจำหน่ายอยู่ตามร้ายค้าใหญ่เล็กทั้งหลายในเขตเมืองทั่วประเทศ มีราคาเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ62.4เมื่อเทียบกับราคาในช่วงระยะเดียวกันของปีที่แล้ว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ  11.3 เมื่อเทียบกับราคาในช่วงต้นปีนี้ ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะค่าเงินหยวนที่แข็งต่าขึ้นในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา แต่สาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัจจัยหลักสามปัจัย หนึ่งที่หนีไม่พ้นเพราะเป็นเรื่องธรรมชาติ คืออากาศหนาวผลิตผักผลไม้ได้น้อย สองพื้นที่หลายแห่งในภาคกลางและภาคใต้ที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ ในปีนี้เสียหายยับเยินเพราะภัยน้ำท่วมและอากาศแปรปรวน ปัจจัยสุดท้าน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าขนส่งสินค้าพื๙ผักเพิ่มสูงขึ้นมากเนื่องจากปริมาณความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ และโดยข้อเท็จจริงที่ว่าแหล่งผลิตและตลาดของพืชผักอยู่ห่างไกลกันมาก ก็เลยส่งผลให้ราคาขายปลีกถึงมือลูกค้าผู้บริโภคสูงมากเป็นพิเศษ ตอนนี้ถึงกับปรากฏว่ามีสถานีบริการน้ำมันหลายบริษัทที่ตั้งอยู่บนทางหลวงสายหลักทั่วประเทศ ออกมาตรการจำกัดปริมาณการขายในแต่ละครั้ง ห้ามไม่ให้เติมน้ำมันเกินครั้งละ200หยวน เพื่อป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำมันเพราะการซื้อกักตุน
                ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวข้องกันโดยตรงหรือไม่ แต่นักวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์จีนบางฉบับถึงกับเอาเรื่องผักแพงไปเชื่อมโยงกับการขยับตัวของค่าใช้จ่ายอื่นๆที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น บทความในนิตยสารปักกิ่งรีวิวส์ สัมภาษณ์ผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกผักผลไม้กลุ่มหนึ่ง ซึ่งยืนยันอย่างหนักแน่นว่าค่าเช่าที่อยู่อาศัยของพวกเขาขยับขึ้นกว่าร้อยละ30ในช่วงสองเดือนมานี้ ทำให้ต้นทุนประกอบการค้าผักผลไม้ของพวกเขาเพิ่มขึ้นไปด้วย เลยต้องขายผักในราคาแพงขึ้น นอกจากเรื่องผัก เรื่องค่าเช่าบ้าน ก็ยังมีค่าใช้จ่ายและค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆอีกมาก ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น โดยรวมแล้วในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เพียงแค่เดือนเดียวดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ4.4  แต่กลุ่มสินค้าที่ขึ้นราคาที่นำโด่งก็คือกลุ่มอาหาร เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อบละ10.1  ว่าที่จริงแล้วราคาของสินค้ากลุ่มอาหารนี้ ขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดหลายเดือนแล้ว กล่าวคือเพิ่มขึ้นร้อยละ8 ในเดือนกันยายน ร้อยละ7.5ในเดือนสิงหาคม และร้อยละ 6.8ในเดือนกรกฎาคม สำหรับรัฐบาลจีนแล้ว การที่ราคาสินค้าเพิ่มเกินกว่าร้อยละ3ในเดือนใดเดือนหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายของเงินเฟ้อแล้ว นี้เล่นเพิ่มสูงขึ้นติดต่อกัน4เดือนรวดในข้างต้น จัดว่าเป็นปัญหาที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งที่จีนเคยประสบมา
                   เดือดร้อนถึงท่านนายกรัฐมนตรี เหวิน เจียเป่า ต้องออกมาประกาศมาตรการนำสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทน้ำมันพืชประกอบอาหาร น้ำตาลทราย ข้าว แป้งสาลี จากคลังสำรองของรัฐบาลออกมาแทรกแซงตลาด ในขณะเดียวกันรัฐบาลจีนก็รับปากว่าจะดูแลส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่เกษตกรที่ทำการเพาะปลูกพืชผักในฤดูหนาวในพื้นที่ทางใต้ของประเทศ เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตชดเชยความต้องการของตลาด ควบคุมราคาค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า นอกจากนี้ เมื่อกลางสัปดาห์ที่แล้วรัฐบาลจีนเปิดประมูลน้ำตาลทรายในคลังสินค้าอีกกว่า200,000ตัน เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปกระจายสู่ท้องตลาดในราคายุติธรรมเพิ่มมากขึ้น ป้องกันปัญหาการขยับขึ้นราคา ต้นเดือนหน้าก็มีข่าวว่ารัฐบาลจีนจะเข็นมาตรการอีกเป็นสิบข้อออกมาใช้ เพื่อต่อสู้กับปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง ทั้งหมดที่เล่ามานี้ ผมก็พยายามสอดส่ายสายตามองหา ว่าจะมีข่าวสิ้นค้าพืชผักอาหารจากประเทศไทย ไปขายทำกำไร แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีข่าวดีแบบนี้ ใครทราบช่วยบอกกล่าวผมด้วยเถิดครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น